fbpx

   

    เราสร้างเว็บไซต์เพื่อดึงดูลูกค้าและกลุ่มผู้มุ่งหวังในร้านค้าออนไลน์ ดังนั้น การสร้างหน้าเพจหลายๆ หน้าในเว็ปไซต์ จำเป็นจริงๆ ไหมนะ? จะว่าไป การสร้างเว็ปไซต์ขึ้นมาก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ แต่นั่นไม่ใช่ทั้งหมด เมื่อมีการเปรียบเทียบระหว่าง Landing Page vs Website … Website ของเจ้านายก็เปรียบเสมือนกับความประทับใจแรกของผู้เข้าชมทางออนไลน์นั่นแหละครับ ส่วนเจ้า Landing Page เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของความประทับใจแรกที่ว่า เช่นการจับมือทักทาย สวัสดี ยิ้มให้กัน ดังนั้นเว็บไซต์ของเจ้านายควรมีทั้ง landing page และ เว็บไซต์ เพื่อทำให้ความประทับใจแรกของผู้ที่เข้ามาชมเว็บไซต์ของเราเกิดความประทับใจมากขึ้นยังไงล่ะ สำหรับบางสถานการณ์ ในทางกลับกัน หน้าเว็บไซต์อาจมีประสิทธิภาพมากกว่า landing page ก็ได้นะครับ สำหรับบล็อกที่เจ้านายกำลังอ่านนี้ หมาน้อยจะลองเปรียบเที่ยบระหว่าง 2สิ่งที่ที่เราพูดถึงไปข้างต้นนี้กัน แล้วมาลองดูว่าปกติแล้ว ส่วนใหญ่เจ้า landing page กับหน้าเว็ปไซต์ ทำหน้าที่ต่างกันอย่างไร เจ้านายอาจจะรู้สึกทึ่งไปเลยก็ได้นะ!

Website Landing Page
จำนวนเพจ  5 เพจ หรือมากกว่า เพจเดียว และ เพจขอบคุณที่ติดมาด้วย
ข้อมูล ข้อมูลที่ลูกค้าต้องการรู้

ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าแบบเฉพาะเจาะจงหรือข้อเสนอต่างๆ

ฟังก์ชั่น อาจประกอบไปด้วยหลากหลายโมดูล (ส่วนจำเพาะ)

และฟังก์ชั่นมากมาย

มีแค่ข้อความ ภาพและแบบฟอร์ม

(เช่น แบบฟอร์มลงทะเบียนต่างๆ)

แถบเมนู ทุกหน้าสามารถเข้าถึงได้

จำกัดการนำทางไปสู่หน้าอื่นๆ

วัตถุประสงค์ เพื่ออธิบายหรือนำเสนอองค์กร เพิ่มกลุ่มผู้ที่คาดหวัง ซึ่งเป็นผู้ที่คาดหวังว่าอาจจะเป็นลูกค้าเราในอนาคต

   

    เว็บไซต์  :  เว็ปไซต์ก็คือ หน้าเพจหลายๆ หน้าที่มารวมกันอยู่ใน 1 เว็บไซต์ ซึ่งหน้าเพจเหล่านั้นจะถูกเชื่อมต่อกันด้วยรายละเอียดเกี่ยวกับธุรกิจของเรานั่นเอง ปกติแล้ว เว็บไซต์แนวธุรกิจมักจะเขียนทำนองว่า เป็นธุรกิจอะไร ทำอะไร มีสินค้า และบริการอะไรบ้างใช่ไหมล่ะครับ นอกจากข้อมูลเหล่านี้แล้ว จริงๆ ภายในเว็บไซต์ก็อาจจะมีหน้าเฉพาะต่างๆ ประกอบอยู่ด้วย เช่น บล็อกเกี่ยวกับธุรกิจ หน้าเข้าสู่ระบบ หรือฟอรัม ซึ่งจุดประสงค์หลักๆ ของสิ่งที่เรียกว่าหน้าเว็บไซต์นั่นก็คือ มีไว้เพื่อบอกลักษณะและอธิบายถึงรูปแบบธุรกิจ หรือองค์กรของเรานั่นเองครับ

    Landing page: landing page เป็นเพจ เพจหนึ่งที่ถูกดีไซน์ขึ้นมาเพื่ออธิบายการเสนอ(ขายหรือบริการ) อาจเป็นคูปอง ebook หรือบริการจำพวกให้ทดลองใช้ฟรี และทั้งนี้
ก็เพื่อเป็นการดึงดูดผู้เข้าชมให้ซื้อสินค้าและบริการนั่นเอง แม้ว่า landing page จะถูกเชื่อมต่อกับหน้าเว็บ แต่ที่จริงแล้วจุดประสงค์ของมันคือการชูองค์ประกอบที่สำคัญในหน้า
นั้นให้น่าดึงดูดและน่าสนใจต่อผู้เข้าชม และมักจะไม่มีปุ่มนำทางหรือลิงก์อื่นๆในหน้าเพจ ซึ่งวัตถุประสงค์หลักๆ ของหน้า Landing Page คือเพื่อเป็นการเพิ่มยอดขายหรือเพื่อดักจับข้อมูลรายชื่อ “ผู้มุ่งหวัง”นั่นเองครับ

    Landing Page vs Website

    ถ้าเลือกเว็บไซต์ลองบอกเล่าเรื่องราวของเจ้านายดูสิ: เพิ่มหน้า About Us(เกี่ยวกับเรา), Mission(สิ่งที่เราทำ), Values(คุณค่าของสิ่งที่ทำ), Locations(สถานที่), Contact Us(ติดต่อเรา), และ other pages(หน้าอื่นๆ) นอกจากนี้เจ้านายสามารถเลือกใช้คำของตัวเอง(ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของเรา) อย่างเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจของเจ้านาย ลองลิสต์คำถามที่ลูกค้าถามบ่อยๆ เกี่ยวกับธุรกิจของเจ้านายดูสิครับ เราตอบคำถามของพวกเขาได้นะครับ ลองใช้หน้าเว็บไซต์ของเราเป็นพื้นที่ที่จะตอบคำถามของพวกเขาสิ
ช่วยให้เราได้จัดการกับข้อมูลที่มีประโยชน์และเป็นระบบมากขึ้นด้วยน้า

    ในหน้า landing page แต่ละหน้า บางครั้งข้อมูลทั้งหมดในหน้าเพจจะถูกจัดเรียงซ้อนๆกันไว้ ทำให้ผู้ใช้งานอาจจะเลื่อนลงมาดูข้อมูลไม่ได้ ทางออกก็คือเวลาจัดการเนื้อหาของหน้าเว็บ ให้เรายึดรูปแบบให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง จำเอาไว้เลยนะครับ สิ่งที่คิดว่าเข้าท่าแล้วสำหรับเรา บางครั้ง บางครา ก็ไม่ได้เข้าท่าสำหรับกลุ่มเป้าหมายของเราน้า ลองให้คนเข้ามาทดลองใช้เว็บดูสิ

    จะได้ช่วยตัดสินใจได้ด้วยว่าหน้าการจัดเรียงหน้าเว็ปของเราควรจะปรับให้เป็นไปในทิศทางไหนถึงจะโอเค อธิบายสินค้า/บริการ: ผู้ใช้งานที่ค้นหาคำพื้นฐานอย่าง “การจัดสวน” “ทันตแพทย์” หรือ “เดรสสีน้ำเงิน” เพราะพวกเขาต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนซื้อยังไงล่ะ พวกเขาอาจจะไม่แน่ใจว่าจริง ๆ แล้วต้องการจะซื้ออะไรกันแน่ หรือมีอะไรขายอยู่บ้าง ถ้าเจ้านายสามารถลงรายละเอียดสินค้า ให้เหล่าลูกค้าที่เข้ามาดูเว็บไซต์ของเราได้ทำการค้นหาขอมูลที่พวกเขาต้องการได้จะเยี่ยมสุด ๆ ไปเลย จำไว้เลยนะครับว่าจุดประสงค์ของเว็บไซต์ คือการบอกกล่าว ไม่ใช่การขาย ประหนึ่งว่าจำต้องขาย ซึ่งนี่ก็คือหน้าที่หลักของการมี landing page เลยล่ะ อย่าลืมว่าต้องทำเว็บไซต์ให้ออกมามีประโยชน์ และเต็มไปด้วยข้อมูลที่สำคัญด้วยนะ ที่จะพูดถึงต่อไปนี้คือบางส่วนที่จำเป็นต่อเว็บไซต์ของเจ้านายครับ และองค์ประกอบเหล่านี้เองที่ทำให้หน้าตาเว็บไซต์ของเจ้านายออกมาเป็นแบบต่างๆได้

    E-commerce  :  คล้ายๆ กับทางเดินยาวๆ กั้นระหว่างชั้นวางสินค้าในร้านค้าหน้าเพจต่างๆ ในร้านค้าออนไลน์ของเจ้านาย สินค้าต่างๆ จะถูกจัดเรียงด้วยชื่อแบรนด์ หรือชนิดของสินค้า ทั้งนี้ เราจึงสามารถบอกลักษณะของสินค้าแต่ละหมวดได้ รวมถึงตอบคำถามหรือไฮไลท์คุณสมบัติหลักๆ ของสินค้าแต่ละตัวได้

    การให้บริการ  :  เมื่อเรามีหน้าสำหรับบริการลูกค้าโดยเฉพาะ ผู้เข้าใช้งานจึงสามารถตามหาสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ง่ายยิ่งขึ้น และจะทำให้ข้อความที่เจ้านายต้องการจะสื่อสารชัดเจนมากขึ้นด้วย อีกทั้งยังทำให้มั่นใจได้อีกด้วยว่าแต่ละบริการจะได้รับความสนใจเท่าที่ควรหรือเป็นไปตามที่คาดไว้หรือไม่

    การใส่ตำแหน่ง  :  ถ้าเราสร้างหน้าเพจเฉพาะสำหรับแต่ละตำแหน่งของโฆษณาไปเลย ผู้เข้าชมก็จะสามารถค้นหาตำแหน่งที่ใกล้พวกเขาได้จากหน้าเว็ปไซต์โดยไม่ต้องทำ
การค้นหาแยกอีกที

    ใส่ฟังก์ชั่น  :  ถ้าเจ้านายแนะนำให้ลูกค้าสั่งซื้อของแบบออนไลน์ล่ะก็ กำหนดเวลานัดหมาย หรือดาวน์โหลดการเก็บข้อมูล ซึ่งอาจจะต้องใช้มากกว่า 1 หน้า ในส่วนของการบริการทางออนไลน์ประเภทนี้จะถูกเชื่อต่อกับส่วนที่เป็นสาธารณะใน หน้าเว็ปไซต์ของเราด้วยนะ แต่มันก็จะถูกปิด เสมือนถูกล้อมรอบด้วยรั้ว หรือถ้าจะพูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าจะเข้าถึงข้อมูล จะต้องเข้าสู่ระบบก่อนน่ะครับ กลุ่มลูกค้าผู้มุ่งหวัง ลูกค้าธรรมดา หรือพนักงานสามารถเข้าถึงฟังก์ชั่นนี้ได้หมดครับ มาตอนนี้ แล้วเราควรใส่ฟังก์ชั่นอะไรในเว็ปไซต์บ้าง มาดูกันเลยครับดีกว่า

    หน้าร้าน  :  ถ้าคุณขายสินค้า คุณจะต้องมีหน้าเพจหลายหน้าเพื่อจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าอย่างปลอดภัย และต้องสามารถพาพวกเขาไปยังขั้นตอนการซื้อได้ (เช่น: กดสั่งซื้อสินค้า/ โอนเงิน/ กรอกที่อยู่ เป็นต้น)

    การนัดหมาย  :  อาจจะใช้ปฏิทิน หรือแบบฟอร์มเพื่อทำการนัดหมายก็ได้นะครับ แต่จะต้องใช้หลายหน้าหน่อยนะ

    การเก็บข้อมูล  :  การเก็บข้อมูลในรูปแบบกระดาษอาจจะต้องใช้ผ่านหน้า landing page ซึ่งคลังข้อมูลเหล่านั้นจะต้องอยู่ในพื้นที่ปิดของเว็ปไซต์

    ฟอรัม  :  เพื่อให้ผู้ใช้งานที่ต้องการจะคอมเมนท์ แลกเปลี่ยนข้อมูล พูดคุยหรือโพสต์อะไรลงไป ในกรณีนี้จำเป็นต้องสร้างเว็ปไซต์นะครับ (ไม่ใช่สร้างแค่ landing page ล่ะ)

    ฟังก์ชั่นที่กำหนดเอง  :  ด้วยการพัฒนาที่เหมาะสม เว็ปไซต์ของเจ้านายสามารถใส่ฟังก์ชันเฉพาะให้กับ สินค้า บริการ รูปแบบธุรกิจต่างๆหรือ สำหรับพนักงานหรือลูกค้า

    การเชื่อมต่อกับลูกค้า  :  เว็ปไซต์ของเจ้านายเป็นเหมือนตู้แสดงสินค้านั่นแหละครับ มันบ่งบอกวัฒนธรรมองค์กร สิ่งที่ธุรกิจเราทำ คุณค่าของสิ่งที่ทำ สไตล์ หรือแม้กระทั่งความปรารถนาของแบรนด์ด้วย ดังนั้น การดีไซน์เว็ปไซต์ก็ควรจะเป็นไปรูปแบบที่จะสามารถคอนเน็คกับกลุ่มลูกค้าในอุดมคติของทางแบรนด์ให้ได้ (เช่น ถ้าทำธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพ ก็อาจจะดีไซน์เว็ปให้มีสไตล์ที่บ่งบอกถึงความรักสุขภาพ เพื่อดึงดูดกลุ่มลูกค้าที่สนใจเรื่องสุขภาพอะไรทำนองนั้นครับ)

    แล้วเราจะทำยังไงให้ประสบความสำเร็จด้วยหน้าเพจเพียง 1 หน้า ทำได้นะครับ แต่การเลือกใช้คำก็อาจจะยากขึ้นไปด้วยนะ ทั้งนี้เราสามารถสื่อสารด้วยข้อความหลากหลาย อย่างเช่น ในหน้า mission หรือ values ซึ่งเป็นหน้าที่สร้างขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ในขณะเดียวกันก็ต้องรักษาสไตล์ให้สอดคล้องกันด้วย Mission: เป้าหมายของบริษัท เช่น การแก้ปัญหา การช่วยเหลือคนให้มีการเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หรือการสร้างประสบการณ์เจ๋งๆ Values: อุดมคติหรืออัตลักษณ์ที่จะขับเคลื่อนบริษัทหรือธุรกิจของคุณนั่นเอง เช่น ความซื่อสัตย์ ความเพียร การอุทิศตน การทำงานหนัก หรือ ความมั่นคง วัฒนธรรม: ก็เหมือนกับวิธีการทำงานในบริษัท เช่น ทางการ หรือไม่ทางการ ตั้งหน้าตั้งตาทำงาน หรือทำชิลล์ๆ เป็นกันเอง หรือแคร์ลำดับขั้นสไตล์: บรรยากาศในการทำงาน หรือทัศนคติในการทำงาน เช่น ทันสมัย สนุกสนาน กับ มีความวิชาการ ข้อมูลต้องแน่น หรือต้องให้เกียรติกัน จริงจังตลอดเวลา

   

    Landing Page vs Website  : ถ้ามีแค่ Landing Page ล่ะ

    การโฆษณาแบบ PPC: Google มองว่าคุณภาพของการทำ PPC หรือ pay-per-click นั้น ข้อมูลบางส่วนที่อยู่ล้อมรอบโฆษณา บางส่วนมีความเกี่ยวข้องกับหน้า landing page ซึ่งหมายความว่าผลการค้นหาที่สูงขึ้น ผู้เข้าชมก็มีโอกาสเจอสินค้าที่กำลังตามหาอยู่มากขึ้น เจ้านายอาจจะใช้การโฆษณาแบบ PPC กับ Landing Page ด้วยข้อเสนอต่างๆ
ที่หมาน้อยจะขอแนะนำดังนี้

    สินค้าใหม่  :  กำหนดเป้าหมายของการใช้คำหลักที่เกี่ยวข้องในโฆษณาแบบ PPC และสร้างหน้าที่สามารถเชื่อมโยงไปถึงได้ ซึ่งเป็นหน้าที่มีสินค้าใหม่ๆ ในนั้น สิ่งนี้จะช่วยให้เราสามารถเริ่มการขายได้โดยเน้นที่ตัวสินค้านี้โดยเฉพาะเลยล่ะครับ

    ลดราคา  :  ลูกค้าที่ชอบเลือกซื้อสินค้าเพราะชอบของลดราคามีแนวโน้มว่าจะตอบสนองกับ keyword ที่เราเลือกใช้ ซึ่งเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับราคาของ และการลดราคา

    อีเว้นท์  :  จัดอีเวนท์ในหน้าเว็ปไซต์เอาใจลูกค้าของเรากันหน่อย landing page จะเข้าถึงผู้ใช้ที่กำลังมองหากิจอีเว้นท์ต่างๆ โดยเฉพาะลูกค้าทั่วไปที่อาจจะไม่ได้กำลังค้นหาธุรกิจของเราอยู่ก็ได้นะ ลองใช้อีเว้นท์ในการดึงดูดให้คนมาสนใจสินค้าของเจ้านายดูสิครับ

    ตำแหน่งใหม่  :  ลงตำแหน่งใหม่ของโฆษณาลงไปบนหน้าเว็ปไซต์ของเราด้วยนะครับเจ้านาย แต่การทำโฆษณาแบบจ่ายต่อคลิก (PPC) กับหน้า landing page ก็จะยิ่งทำให้ง่ายต่อการมองเห็นมากขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้ามาเลยล่ะ

    กลยุทธ์ดึงดูดลูกค้า  :  สิ่งนี้สามารถเป็นพวกเนื้อหาที่มีประโยชน์ในรูปแบบของแบบฟอร์ม ผู้ใช้สามารถกรอกฟอร์มในหน้า landing page ได้ อย่างน้อยที่สุดก็ใส่ชื่อ อีเมลล์
เพื่อให้พวกเขากลายมาเป็นลูกค้าของเราได้ในที่สุด เพื่อที่ลูกค้าจะได้เห็นข้อเสนอต่างๆ ในหน้า thank you page นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมหน้า landing page จึงถูกขนานนามว่าเป็น opt-in page หรือ หน้าดักจับกลุ่มผู้มุ่งหวังนั่นเอง ออกแบบ landing page เพื่อเป็นสร้างกลยุทธ์ดึงดูดลูกค้า ให้เกิดความสนใจในเนื้อหา รูปแบบ และ keyword ให้ได้ ส่งลิ้งก์หน้า landing page ไปให้กลุ่มลูกค้าผู้มุ่งหวัง (ผู้ที่คาดว่าจะมาเป็นลูกค้าของเราในอนาคต) เพื่อแสดงถึงงการดูแลเอาใจใส่ หรือจะใช้โซเชียลมีเดีย keyword เจ๋งๆ หรือ PPC เพื่อสร้างกลุ่มผู้หวังใหม่เพิ่มก็ได้นะครับ แค่มี landing page เจ้านายก็แทบจะไม่ต้องอัพเดทเว็ปทั้งเว็ปด้วยเนื้อหายิบย่อยแล้วล่ะครับ หมาน้อยอยากแนะนำให้เจ้านายลองใช้เนื้อหาเหล่านี้อันเป็นกลยุทธ์ดึงดูดกลุ่มผู้มุ่งห วังดูครับ

    การสัมมนาผ่านเว็บ  :  ตอบคำถามลูกค้าโดยแอดมินผู้เชี่ยวชาญในไลฟ์หรือวีดิโอที่อัดไว้ล่วงหน้า

    Ebook  :  แชร์ข้อมูลเกี่ยวกับความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมที่ทำอยู่ผ่าน ebook

     ทดลองใช้ฟรี  :  ให้ทดลองใช้ หรือให้ใช้บริการแบบจำกัด เพียงเท่านี้เจ้านายก็จะสามารถดึงดูดความสนใจด้วยโอกาสทางการขายที่มีคุณภาพสูงแล้วครับ

    แนวทาง  :  หา “ว่าที่ลูกค้า” ใหม่ ๆ ผ่านกระบวนการอันซับซ้อนทีละขั้นตอน

    Checklist  :  อันดับแรกลิสต์สิ่งที่เราจะทำลงไป

    ดึงดูดความสนใจ  :  ถ้าไม่มีปุ่มนำทาง ลิ้งก์ บล็อก หรือสิ่งรบกวนทั้งหลาย landing page จะรักษาความสนใจของผู้เข้าชมเว็ปไซต์ได้ดีกว่ามีสิ่งเหล่านี้รกไปทั้งหน้าเพจ เมื่อผู้เข้าชมเข้ามาถึงหน้า landing page แล้ว พวกเขาก็สามารถทำการซื้อ หรือถ้าอยากจะกดกลับไปยังหน้าค้นหาก็ได้เช่นกัน

    ทดสอบการใช้งาน  :  เนื่องจาก landing page คือเพจเดี่ยวๆ เพจเดียว มีความสนใจแค่อย่างเดียว จึงง่ายต่อการทดลองใช้งานครับ บางธุรกิจทดลองใช้ landing page แต่ละแบบ 2-3 ครั้ง หรือประเภทอื่นๆ ทดลองกัน 40-50 ครั้งก็มี หากมีเครื่องมือที่เหมาะสมต่อการใช้งานแล้วล่ะก็ เจ้านายสามารถทดลองได้ต่อเนื่องเลยนะครับ ทำให้ใช้ง่ายๆ
และน่าสนใจที่สุดเท่าที่จะเป็นได้แล้วกันครับ

    หน้าหลัก  :  หน้า landing page squeeze page (หน้ารวบรัด) ควรจะได้รับการทดลองใช้งานเป็นประจำ เพราะหน้าเหล่านี้อาจจะไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ตามที่ต้องการได้ครับถ้าไม่ลองใช้บ่อยๆ มาดูกันว่ามีส่วนไหนบ้างที่เราควรจะทดสอบดู

    Copy  :  ข้อความที่อยูใน landing page ส่วนใหญ่จะเป็นข้อความสั้นๆ แต่เป็นอะไรที่ควรจะเลือกใช้อย่างระมัดระวังมากๆ ครับ เพิ่มเนื้อลงไป คัดน้ำออกครับ
หรือจะใส่อะไรที่เน้นการกระทำลงไป แค่นี้ก็ทำให้คนสนใจหน้าเพจเรามากขึ้นแล้วล่ะ

    การปรับแต่งข้อมูล  :  หน้าเพจที่ปรับแต่งเนื้อหาโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วเกี่ยวกับผู้มุ่งหวังมักจะมีอัตราส่วนของการเข้าชมเนื้อหาในเว็บไซต์สูงกว่า (ในกรณีนี้หมายถึงว่า ถ้าใส่ข้อมูลหรืออะไรสักอย่างที่เชื่อมโยงกับลูกค้าของเราลงไป หน้าเพจนั้นๆก็จะดูมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นครับ)

    ความต้องการ  :  ขึ้นอยู่กับกลุ่มผู้เข้าชมหลักของเราแล้วล่ะครับข้อนี้ การจะออกแบบให้หน้าเพจของเราดูมีความเป็นกันเอง สบายๆ หรือจะดูเป็นมือโปร ดูเบาสมอง หรือซีเรียส เต็มไปด้วยรายละเอียด หรือจะออกแบบให้ดูธรรมดา ก็ทำได้ทั้งหมด

    สื่อ  :  การเพิ่มหรือเปลี่ยนรูปภาพ หรือลงวีดิโอที่สามารถเปลี่ยนอัตราการแปลงได้ เช่น รูปภาพที่มีหน้าคน มีแนวโน้มว่าจะได้รับความเชื่อถือมากกว่าไม่มี หรือ landing page ที่มีวีดิโอหลายๆ อัน ก็มีแนวโน้มว่าจะเวิร์คกว่าหน้าที่ไม่มีวีดิโอ

    การเลือก keywords  :  จงเลือกคำที่เหมาะสมที่สามารถส่งผลต่อคนหลายๆ คนเข้าไว้ พวกเขาคือกลุ่มคนที่จะเห็นหน้าเพจของเรานะ ลองใช้หลายๆ คำใน ads หรือ on-page SEO (การปรับแต่งหรือพัฒนาหน้าเว็ปไซต์ของเราเพื่อเพิ่มอันดับในการค้นหา) แล้วลองประเมินสถานการณ์ดูครับผมว่าได้ผลไหม

    ดึงดูดลูกค้าหลากหลายกลุ่ม  :  เราไม่ได้ทักทายผู้คนที่เราพบเจอเพียงครั้งเดียว สำหรับลูกค้าของเราก็เช่นกัน ดังนั้น เราจึงไม่ควรจะมีเพียงหน้าเพจเดียวเพื่อต้อนรับพวกเขาถูกไหมครับ ถ้าตอนนี้หน้าเว็ปไซต์ของเจ้านายดูธรรมดาๆ ไปล่ะก็ ลองสร้าง landing page เพื่อดึงดูดกลุ่มตลาดบางกลุ่มดูครับ ท่องเอาไว้เลยว่า เนื้อหา การเสนอขาย สไตล์ของหน้าเพจ และการโฆษณาที่เราเลือก จะทำให้ตัดสินใจได้ว่าหน้าเพจของเรามีผลต่อกลุ่มตลาดใหม่ๆ มากน้อยแค่ไหน

    ตำแหน่ง  :  Landing page ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อบ่งบอกตำแหน่งโฆษณาใดตำแหน่งหนึ่งโดยเฉพาะ จะทำให้ง่ายต่อลูกค้าในการค้นหาสินค้าของเราได้ครับ

    สำรวจข้อมูลประชากร  :  อายุ ความสนใจ การศึกษา และปัจจัยอื่น ๆ มีอิทธิพลต่อสินค้าหรือบริการที่ลูกค้ากำลังตามหาครับ ลองดูอีกทีว่า Landing Page แบบไหนที่ลูกค้าชอบ

    ราคา  :  ลูกค้าบางกลุ่มมองหาคุณภาพ ยินดีที่จะจ่าย ในขณะที่บางคนก็โฟกัสแต่ราคาอย่างเดียว ดังนั้น landing page ที่ดี จะช่วยให้เราจัดการกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายและสามารถพาพวกเขาไปยังสินค้า บริการ หรือเนื้อหาที่ตรงกับความต้องการได้ในที่สุด

    มาถึงตอนนี้ ถ้าเจ้านายยังสงสัยหรือตัดสินใจว่าจะเลือกระหว่าง landing page หรือ Website ดีล่ะก็ หมาน้อยบอกตรงนี้เลยนะครับ มีทั้ง 2 อย่าง ใช้ควบคู่กันไปเลยเจ๋งกว่าฮะ สองอย่างนี้ถูกใช้งานด้วยหน้าที่เฉพาะที่ต่างกัน และไม่มีอะไรแทนกันได้ หากเจ้านายยังไม่เคยลองใช้ landing page มาก่อนหรือยังไม่เคยสร้างเว็ปไซต์เลยสักครั้งล่ะก็ เริ่มเลยสิครับ เริ่มตอนนี้นั่นแหละเหมาะเหมงสุดแล้ว!

Comments